นโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน (Anti-corruption Policy)
บริษัท น้ำตาลครบุรี จำกัด (มหาชน) และบริษัทในกลุ่ม มีอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจอย่างซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส และมีจริยธรรม โดยยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
เพื่อแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการต่อต้านคอร์รัปชันทุกรูปแบบ และเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีนโยบายการกำหนดความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติ และข้อกำหนดในการดำเนินการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการคอร์รัปชันกับทุกกิจกรรมทางธุรกิจ และเพื่อให้การตัดสินใจและการดำเนินการทางธุรกิจที่อาจมีความเสี่ยงด้านการคอร์รัปชันได้รับการพิจารณาและปฏิบัติอย่างรอบคอบ และเหมาะสม บริษัทจึงได้จัดทำ “นโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน” เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจและพัฒนาสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน โดยนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน ได้รับการพิจารณาและอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท และได้รับการทบทวนและสอบทานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ครอบคลุมบริบทการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่เปลี่ยนแปลงไป และให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายธุรกิจ
นโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน
ดาวน์โหลด
นโยบายในการรายงานเบาะแส
บริษัท น้ำตาลครบุรี จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย (บริษัท) ได้กำหนดนโยบายในการรายงานเบาะแส ซึ่งเป็นมาตรการ ในการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่กรรมการ พนักงาน และบุคคลอื่นๆ ในการแจ้งข้อมูลหรือให้เบาะแสเกี่ยวกับการทุจริต คอร์รัปชัน หรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับของบริษัท เพื่อให้มีการแก้ไขปรับปรุงอย่างมีประสิทธิภาพ
ช่องทางแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน

คณะกรรมการบริษัทเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียสามารถติดต่อสื่อสารกับคณะกรรมการบริษัท และจะคุ้มครองสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียที่แจ้งเบาะแสหรือร้องเรียนประเด็นต่างๆ โดยมีข่องทางการติดต่อสื่อสารโดยผ่านกรรมการตรวจสอบของบริษัทเพื่อดำเนินตามกระบวนการที่บริษัทกำหนดและรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทต่อไป ทั้งนี้ช่องทางติดต่อมีดังนี้

  1. ทางไปรษณีย์ โดยส่งมาที่ :- ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ บริษัทน้ำตาลครบุรี จำกัด (มหาชน) ตู้ ปณ. 419 พระโขนง กรุงเทพฯ
  2. ทางอีเมล์ โดยส่งมาที่ประธานกรรมการตรวจสอบที่ anticorruption.kbs@gmail.com

ในกรณีที่ผู้ร้องเรียนเลือกที่จะไม่เปิดเผยชื่อ ต้องระบุรายละเอียดข้อเท็จจริงหรือหลักฐานที่่ชัดเจนเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่า มีเหตุอันสมควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับของบริษัทฯ หรือจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ

ทั้งนี้ การร้องเรียนจะถือเป็นความลับที่สุด และผู้ร้องเรียนสามารถร้องเรียนได้มากกว่าหนึ่งช่องทาง และไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนผู้ร้องเรียน กรณีผู้ร้องเรียนเปิดเผยตนเองจะทำให้บริษัทฯ สามารถแจ้งผลดำเนินการหรือรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องที่ร้องเรียนให้ทราบได้